HomeComSci M.4เองฟังข้านะ : เทคนิคการทำบทที่ 2 สไตล์กรวย ๆ

เองฟังข้านะ : เทคนิคการทำบทที่ 2 สไตล์กรวย ๆ

ในการทำโครงงาน วิจัย วิทยานิพนธ์ต่าง ๆ จะมีหัวข้อหนึ่งที่เรียกว่า “การทบทวนวรรณกรรม” หรือ Literature review hypothesis มันคือการเขียนตัวแปรที่เราจะทดสอบครับว่ามีอะไรบ้าง (งงละสิ)

เช่น หากชื่องานเรา คือ

การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ 1 เรื่องการพัฒนาโครงงาน

สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสุราษฎร์ธานี

บางสื่ออาจบอกว่าเรามักจะเขียนจากตัวแปรต้นไปหาตัวแปรตามใช่ไหม ในที่นี้เราขอใช้คำว่า ปัญหา กับ เครื่องมือ ทดแทนนะครับ

ปัญหาของเราคือ : วิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ 1 เรื่องการพัฒนาโครงงาน สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสุราษฎร์ธานี

เครื่องมือของเราคือ : การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน


แต่ก่อนอื่นเรามาดูหลักการ Wide 2 Narrow กันก่อน

“Wide to narrow” ในการทบทวนวรรณกรรม หมายถึงแนวทางในการจัดลำดับหรือการนำเสนอข้อมูลจากกว้างไปหาแคบ ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้ในการจัดโครงสร้างของการทบทวนวรรณกรรมเพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจภาพรวมก่อนที่จะเข้าสู่รายละเอียดเฉพาะเจาะจง ช่วยให้การทบทวนวรรณกรรมมีความเป็นระเบียบ ง่ายต่อการติดตาม และช่วยให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจความเชื่อมโยงระหว่างภาพรวมกับรายละเอียดเฉพาะเจาะจงได้ดียิ่งขึ้น

เริ่มต้นจากภาพรวม (Wide):
ขั้นแรกของการทบทวนวรรณกรรม จะเริ่มต้นด้วยการอธิบายภาพรวมของหัวข้อหรือประเด็นที่กว้างขึ้น เช่น ทฤษฎีหรือแนวคิดที่เกี่ยวข้องทั่วไป ความสำคัญของหัวข้อนั้นในบริบทกว้างๆ และการศึกษาที่เคยทำมาก่อน

การแคบขอบเขตลง (Narrow):
เน้นไปที่ข้อมูลที่มีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น เช่น งานวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับประเด็นที่สนใจ การศึกษาที่มีความใกล้เคียงกับหัวข้อหรือคำถามวิจัยของเราเอง และรายละเอียดเฉพาะเจาะจงที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโครงงาน

สรุปข้อมูลเฉพาะเจาะจง:
มุ่งเน้นไปที่หัวข้อเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยหรือการพัฒนาโครงงานของตนเอง โดยอาจนำเสนอช่องว่างทางการวิจัยที่ยังไม่มีการศึกษา หรือประเด็นที่ต้องการการวิจัยเพิ่มเติม


การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ 1 เรื่องการพัฒนาโครงงาน

สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสุราษฎร์ธานี

จากปัญหาเราควรพูดถึงอะไรบ้าง

  • ความหมายและความสำคัญ
  • แนวคิด (หลักการ)
  • กระบวนการพัฒนาโครงงาน
  • ทักษะที่จำเป็น

แล้วในส่วนของเครื่องมือ

  • ความหมายและความสำคัญ
  • ทฤษฎีและแนวคิดที่เกี่ยวข้อง
  • กระบวนการพัฒนาและออกแบบ
  • เทคโนโลยีและเครื่องมือในการพัฒนาบทเรียน
  • ประโยชน์และผลกระทบของการใช้
  • การประเมินผลบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (หาประสิทธิภาพ)

หากเราสามารถวิเคราะห์ได้แล้วหัวข้อของเราใน “การทบทวนวรรณกรรม” จะมีดังนี้

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ 1 เรื่องการพัฒนาโครงงาน สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้ารวบรวมข้อมูลจาก เอกสาร ตำรา บนเครือข่าย อินเทอร์เน็ต รวมทั้งแนวความคิดและทฤษฎีในงานวิจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ตามลำดับดังต่อไปนี้

  • 1.วิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ 1 เรื่องการพัฒนาโครงงาน
    • 1.1 ความหมายและความสำคัญ
    • 1.2 แนวคิดของวงจรการพัฒนาโครงงาน (Project Development Cycle)
    • 1.3 การวางแผน การวิเคราะห์ และการทดสอบโครงงาน
    • 1.4 ทักษะที่นักเรียนควรมีหรือพัฒนาขึ้นในการทำโครงงาน
  • 2.แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์
    • 2.1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
    • 2.2 ประเภทบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการแบ่งประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
    • 2.3 องค์ประกอบสำคัญของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
    • 2.4 ประโยชน์ของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
    • 2.5 ขั้นตอนการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
  • 3.หลักการและทฤษฎีที่นำมาใช้ในการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
    • 3.1ขั้นวิเคราะห์ (Analysis Phase)
    • 3.2 การออกแบบ (Design Phase)
    • 3.3 ขั้นการพัฒนา (Development Phase)
    • 3.4 ขั้นการนำดำเนินการ (Implementation Phase)
    • 3.5 ขั้นการประเมินผล (Evaluation Phase)

ขอเน้นย้ำ การอ้างอิง หรือ Quotation เป็นสิ่งที่สำคัญในการทบทวนวรรณกรรม เราสามารถเขียนด้วยความคิดเห็น หรือ Opinion ของเราได้ แต่เราต้องมีการอ้างอิงเพื่อ 1.ความถูกต้อง 2.มีคนคิดเหมือนเรา (การให้คนแรกที่คิดขึ้นได้เป็นการให้เกียรติ)

***นักเรียนที่ใช้เว็บไซต์นี้ประกอบการเรียนวิชา วิทยาการคอมพิวเตอร์ 1 เพื่อประกอบการทำโครงงานของนักเรียน ไม่จำเป็นต้องอ้างทุกประโยค แต่หากอนาคตนักเรียนทำงานระดับใหญ่ ๆ ต้องใช้การอ้างอิงที่เยอะขึ้นเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือของงาน

Generative-AI Prompt : จากชื่อ …… ในการการทบทวนวรรณกรรม ควรมีหัวข้อย่อยจากชื่อที่ฉันให้ไปอย่างไรบ้าง

Share: 

No comments yet! You be the first to comment.

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *