HomeComSci M.4Flowchart ก้าวแรกเริ่มต้นสู่ Developer

Flowchart ก้าวแรกเริ่มต้นสู่ Developer

***เนื้อหายังไม่สมบูรณ์นะครับ***

อย่าพึ่งเบื่อ อย่าพึ่งปิด Blog นี้เลยครับเพราะว่ามันสำคัญมาก ๆ เลยครับ “การที่เรามีแต่รากฝอยไร้ซึ่งรากแก้ว จะทำให้เราเติบโตรวดเร็วแต่เติบโตได้ไม่นาน”

ในบทนี้เราจะพูดถึงหนึ่งในเรื่องที่เราต้องเรียนในวิชา วิทยาการคอมพิวเตอร์ ๑ ซึ่งเกี่ยวกับ กระบวนการแก้ปัญหา /กระบวนการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์ โดยเราจะนำหลักการนี้ไปใช้ในหลาย ๆ อย่างที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวันของเรานอกจากเขียนโปรแกรมนะครับ

Ready ! ! !

นี่คือสัญลักษณ์ที่ใช้บ่อย ๆ ใน Flowchart นะครับ ซึ่งของจริงมันมีเยอะกว่านี้มาก ๆ แต่เรามาดูอันที่เป็นพื้นฐานดีกว่า

1. Start/end เป็นสัญลักษณ์บังคับที่ต้องมีในทุก ๆ ผังการทำงานโปรแกรมจะเริ่มจากจุด Start และสิ้นสุดอย่างถูกต้องที่ End

2. Arrows ลูกศรใช้สำหรับบอกว่าหลังจากเสร็จสิ้น A ต้องไปทำอะไรต่อ โดยเราสังเกตจากปลายหัวของลูกศรมันจะชี้ไปยังการทำงานอันถัดไป

จากภาพเมื่อเสร็จสิ้นการทำงาน Input โปรแกรมจะไปทำงานต่อที่ Output (Input -> Output)

3. Input/Output เป็นสัญลักษณ์สำหรับการรับเข้าข้อมูลและส่งออกข้อมูล โดยหลัก ๆ แล้วโปรแกรมมีพื้นฐานการทำงานดังนี้ Input -> Process -> Output ในบางกรณีอาจมี Feedback ซึ่งเราต้องรับ Input เข้ามาเพื่อที่จะให้โปรแกรมนำไปประมวลผลเพื่อให้ได้เป็นผลลัพท์นั่นเอง

4. Process สัญลักษณ์ของการทำงานตามเงื่อนไข เราสามารถสั่งให้โปรแกรมทำงานต่าง ๆ ในส่วนนี้ได้ไม่ว่าจะเป็นคำนวณทางคณิตศาสตร์ เปลี่ยนค่าตัวแปรที่เรากำหนดไว้

5. Decision สัญลักษณ์การตัดสินใจของโปรแกรมตามเงื่อนไขที่เรากำหนดไว้ มีไว้ใช้ตรวจสอบเงื่อนไขที่เรากำหนดกับตัวแปรในโปรแกรม

ครูจะสั่งงานเราเกี่ยวกับโปรแกรมคำนวณค่าดัชนีมวลร่างกายหรือ BMI

โจทย์ : จงเขียน Flowchart แสดงแผนผังการทำงานของโปรแกรมคำนวณค่าดัชนีมวลร่างกายหรือ BMI ให้แสดงค่าที่คำนวณได้จากโปรแกรมให้ผู้ใช้ทราบ

เราได้โจทย์มาแล้ว ต่อไปเราต้องรู้การ นำหลักแนวคิดเชิงคำนวณมาใช้ครับ (ขั้นตอน Pattern,Abstract,Algorithm ขอไม่เอ่ยถึง)
แยกส่วนประกอบ :
การคำนวณ BMI ใช้ค่าอะไรบ้าง คำนวณยังไง
คำตอบ : ค่าน้ำหนักผู้ใช้ ค่าส่วนสูงผู้ใช้
คำนวณยังไง
คำตอบ : น้ำหนักผู้ใช้ หารด้วย ส่วนสูงผู้ใช้ยกกำลังสอง

เห็นไหมครับเรารู้แล้วว่าต้องมีการรับค่า น้ำหนัก และ ส่วนสูงจากผู้ใช้ เพื่อที่จะใช้ในการคำนวณค่า BMI นั่นเอง

มาเริ่มเขียน Flowchart กัน

เราจะใช้โปรแกรม Flowgorithm ในการเขียนผังงานกันนะครับเมื่อเปิดโปรแกรมมาจะได้หน้าต่างแบบนี้


ซึ่งการที่เราจะรับค่า น้ำหนัก กับ ส่วนสูง เราต้องใช้สัญลักษณ์ Input ครับ แต่เราก็ต้องมีที่จัดเก็บข้อมูลด้วยซึ่งนั่นก็คือการ Declare variable นั่นเอง
1.ทำการสร้างตัวแปร
– weight สำหรับเก็บ น้ำหนักของผู้ใช้
– height สำหรับเก็บ ส่วนสูงของผู้ใช้
– bmi สำหรับเก็บ ค่าจากการคำนวณด้วยสูตร BMI
เราต้องใช้ตัวแปรชนิดตัวเลขครับซึ่งจะเป็น Integer(ตัวเลข) หรือ Real(จำนวนจริง) ก็ได้
Tips : เราสามารถประกาศตัวแปนที่มีชนิดแบบเดียวกันหลาย ๆ ตัวได้โดยการใช้ , (คอมมา) ในการแยกตัวแปรแต่ละ
ตัว

2.รับค่าเพื่อเก็บเข้าในตัวแปร
เราต้องการรับค่า น้ำหนักและส่วนสูงของผู้ใช้โดยใช้สัญลักษณ์ Input ซึ่งเราต้องใส่ชื่อตัวแปรที่เราได้สร้างไว้เพื่อให้โปรแกรมนำค่าไปเก็บในตัวแปรที่ประกาศขึ้น เราต้องสร้างให้ครบทั้ง weight และ height

เราลองกดปุ่ม เริ่ม (สามเหลี่ยมสีเขียว) เพื่อแสดงการทำงานได้ แล้วโปรแกรมจะรอเราใส่น้ำหนักกับส่วนสูง แต่ถ้าเราสังเกตดี ๆ โปรแกรมเรานั้นไม่บอกเลยว่าตอนนี้ต้องใส่ค่าอะไร หากเราเขียนโปรแกรมให้คนอื่นใช้รับรองว่าไม่มีใครสามารถใช้งานได้ครับ

ดังนั้นเราควรแจ้งเตือนผู้ใช้ให้ทราบด้วยว่าตอนนี้โปรแกรมต้องการค่าอะไร เราจะใช้สัญลักษณ์ Output เพื่อให้มันแสดงผลออกมาครับ สังเกตไหมว่าเราใช้ ” ” (Double quote / ฟันหนู) ครอบข้อความด้วยเพื่อเป็นการบอกโปรแกรมว่าทั้งหมดนี่คือ ข้อความ (String) นะ

เราลองทำโปรแกรมให้ได้ผลลัพท์ประมาณนี้

3. คำนวณค่า BMI จากข้อมูลของผู้ใช้ (น้ำหนักและส่วนสูง) โดยใช้สัญลักษณ์ Assign
ในการใช้สัญลักษณ์ Assign เราต้องมาดูว่าแต่ละช่องมีหน้าที่อย่างไร
ช่อง Variable เป็นช่องที่มีไว้สำหรับใส่ตัวแปรที่เราต้องการจะเก็บค่าจากการประมวลผลนั่นเอง
ช่อง Expression เป็นช่องสำหรับการใส่เงื่อนไขการประมวลผล ในโปรแกรมนี้เราจะดำเนินการคำนวณค่าของ BMI ดังนั้นเราต้องไปหามาก่อนครับว่าสูตรในการคำนวณนั้นต้องทำยังไง ซึ่งเหมือนกับเราแก้โจทย์คณิตเลยครับเพียงแต่แทนตัวแปรเป็น weight กับ height แค่นั้นเลย

ในหลักการเขียนโปรแกรมเครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ใช้คล้าย ๆ กันเลยครับ
– 1 + 1 = 1
– 1 – 1 = 0
– 1 x 1 = 1 แต่หากเขียนโปรแกรม x (เครื่องหมายคูณ) จะใช้เป็น * หรือเรียกกันว่าสตาร์แทนนั่นเอง
– 1 ÷ 1 = 1 แต่หากเขียนโปรแกรม ÷ (เครื่องหมายหาร) จะใช้เป็น / หรือเรียกว่า slash, forward-slash
การยกกำลังอาจแตกต่างกันไปในแต่ละโครงสร้างภาษาแต่เราก็สามารถใช้เครื่องหมายคูณมาปรับใช้ได้นะ
อีกส่วนที่สำคัญคือการเขียนโปรแกรมเราต้องเข้าใจลำดำความสำคัญทางเครื่องหมายคณิตศาสตร์ด้วยนะครับ
– ลำดับที่ 1 ดำเนินการในส่วนที่อยู่ในวงเล็บก่อน (… )
– ลำดับที่ 2 ตามมาด้วยดำเนินการในส่วนที่เป็นเลขยกกำลัง หรือราก [n^, √]
– ลำดับที่ 3 จากนั้นดำเนินการในส่วนที่เป็นการคูณและหารทั้งหมด × / ÷ โดยแก้สมการทางคณิตศาสตร์จากซ้ายไปขวา
– ลำดับที่ 4 ดำเนินการสุดท้ายเสมอคือการบวกและลบทั้งหมด + / – โดยแก้สมการทางคณิตศาสตร์จากซ้ายไปขวาเช่นกัน

4. แสดงผลค่า BMI ออกให้ผู้ใช้ทราบ
หลังจากผ่านขั้นตอนของ Input -> Process มาแล้ว ต่อมาเราก็ต้องแสดงผลให้ผู้ใช้ทราบนั่นเองโดยใช้สัญลักษณ์ Output เหมือนเราแสดงข้อความให้ผู้ใช้ใส่น้ำหนักและส่วนสูงเลยครับ คำถามคือจะแสดงค่า bmi ออกมายังไง หากเราใส่ตัวแปร bmi ไปเลยก็ได้ครับ แต่โปรแกรมมมันอาจดูดิบไปหน่อยเราลองใส่ข้อความเช่น “Yout BMI is” ดูครับ ซึ่งปัญหาก็คือเมื่อเราเอาตัวแปรค่า bmi ตามหลังไปมันจะงงครับว่าสุดท้ายฉันคือตัวแปรหรืออะไร เราเลยต้องใส่ & (แอมเพอร์แซนด์) ไปเพื่อเป็นตัวกันระหว่างทั้ง 2 อย่างนั้นเอง เช่น “You BMI is “&bmi&” naka”


ส่งงานได้เลย

Share: 

Comments

  • คลื่นพลังบุญโหดกว่าเชื่อมจิต
    June 10, 2024

    อ่านแล้วเข้าใจมากครับงื้อๆมุๆงุงิ

    Reply

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *